ทุนเรียนดี-ทุนนำเสนอผลงาน
ทุนเรียนดี
เป็นนักศึกษาปริญญาตรีในแต่ละชั้นปี ตามที่กำหนดในหลักสูตรที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดในหลักสูตร และอยู่ในเกณฑ์คุณสมบัติที่จะได้รับเกียรตินิยมตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความประพฤติเรียบร้อย
จำนวนทุนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อปีการศึกษา โดยให้ส่วนงานวิชาการของนักศึกษาผู้ขอรับทุนเป็นผู้เสนอชื่อต่อคณะกรรมการกองทุนการศึกษาเพื่อพิจารณา
ติดตามวัน เวลาเปิดรับสมัครได้ทาง Facebook KMITL Student life
ทุนผู้สร้างชื่อเสียงในนามสถาบัน
ระดับโลก ได้แก่ การแข่งขันของประเทศในหลายทวีป และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 16 ประเทศ
- อันดับ 1 จำนวน 100,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 50,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 25,000 บาท
ระดับนานาชาติ ได้แก่ การแข่งขันจากหลากหลายประเทศ โดยหน่วยงานที่จัดการแข่งขันจะต้องเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 8 ประเทศ
- อันดับ 1 จำนวน 50,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 25,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 13,000 บาท
ระดับเอเชีย ได้แก่ การแข่งขันของประเทศในทวีปเอเชียที่นอกเหนือจากประเทศกลุ่มอาเซียน และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ
- อันดับ 1 จำนวน 40,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 20,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 10,000 บาท
ระดับอาเซียน ได้แก่ การแข่งขันของสมาชิกกลุ่มอาเซียน และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ
- อันดับ 1 จำนวน 25,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 13,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 7,000 บาท
ระดับประเทศ ได้แก่ การแข่งขันที่มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 16 มหาวิทยาลัยและ/ หรือหน่วยงานที่จัดหากเป็นภาคเอกชนจะต้องมีหน่วยงานจากภาครัฐ ร่วมจัดด้วย
- อันดับ 1 จำนวน 20,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 10,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 5,000 บาท
*ในการประกวดหรือแข่งขันทางวิชาการระดับประเทศที่ไม่เข้าเกณฑ์ หากคณะกรรมการกองทุนการศึกษา เห็นว่าการแข่งขันนั้นจัดขึ้นสม่ำเสมอทุกปีและจัดโดยหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในประเทศ อาจให้เพิ่มการแข่งขันหรือการประกวด เพื่อให้ทุนแก่นักศึกษาได้เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ส่วนงานวิชาการของนักศึกษาเสนอชื่อหน่วยงานที่จัดการประกวด หรือจัดแข่งขัน ให้คณะกรรมการกองทุนการศึกษาพิจารณา
กีฬาโอลิมปิกหรือกีฬาระดับโลก ได้แก่ การแข่งขันกีฬาของประเทศในหลายทวีปรวมกัน และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 16 ประเทศ
- เหรียญทอง จำนวน 100,000 บาท
- เหรียญเงิน จำนวน 50,000 บาท
- เหรียญทองแดง จำนวน 25,000 บาท
กีฬามหาวิทยาลัยโลก ได้แก่ การแข่งขันกีฬาจากหลากหลายประเทศ และจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 8 มหาวิทยาลัย
- เหรียญทอง จำนวน 60,000 บาท
- เหรียญเงิน จำนวน 30,000 บาท
- เหรียญทองแดง จำนวน 15,000 บาท
กีฬาระดับเอเชีย ได้แก่ การแข่งขันกีฬาของประเทศในทวีปเอเชีย ที่นอกเหนือจากประเทศกลุ่มอาเซียน และจำนวนประเทศที่เข้าแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ
- เหรียญทอง จำนวน 50,000 บาท
- เหรียญเงิน จำนวน 25,000 บาท
- เหรียญทองแดง จำนวน 13,000 บาท
กีฬาระดับอาเซียน ได้แก่ การแข่งขันกีฬาที่มีสมาชิกกลุ่มอาเซียนเข้าร่วมการแข่งขัน และจำนวนประเทศที่เข้าแข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ
- เหรียญทอง จำนวน 30,000 บาท
- เหรียญเงิน จำนวน 15,000 บาท
- เหรียญทองแดง จำนวน 8,000 บาท
กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้แก่ การแข่งขันกีฬาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขันไม่น้อยกว่า 16 มหาวิทยาลัยดับประเทศ
- อันดับ 1 จำนวน 20,000 บาท
- อันดับ 2 จำนวน 10,000 บาท
- อันดับ 3 จำนวน 5,000 บาท
ให้ส่วนงานวิชาการของนักศึกษาผู้ที่ได้รับรางวัล เป็นผู้เสนอขอต่อคณะกรรมการกองทุนการศึกษาเพื่อพิจารณา
(ก) ระดับประเทศ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายจำนวน 2 ภาคการศึกษา นับถัดจากภาคการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติทุนหรือ
(ข) ระดับนานาชาติขึ้นไป ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร โดยให้เริ่มรับทุนนับถัดจากภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติทุนการศึกษา
เงื่อนไขการรับทุนผู้สร้างชื่อเสียงในนามสถาบัน แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
- กรณีประเภทบุคคล ให้ได้รับทุนเป็นรายบุคคล
- กรณีประเภททีม ให้ได้รับทุนเป็นรายทีม โดยได้รับทุนเป็น 2 เท่าของเงินทุน และให้หารเฉลี่ยทุกคน หากทีมประกอบด้วยบุคคลภายนอกให้ได้รับทุนนี้เฉพาะนักศึกษา
- สมัครได้ตลอดปีการศึกษา
- แบบฟอร์มสมัครทุนผู้สร้างชื่อเสียงในนามสถาบัน
ทุนผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สถาบัน
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่สถาบันด้านต่างๆ ตามที่คณะกรรมการกองทุนการศึกษากำหนด เช่น ด้านกิจกรรม ด้านจิตอาสา ด้านวิชาการ เป็นต้น
- มีความประพฤติเรียบร้อย (โดยคณะต้นสังกัดจะเป็นผู้เสนอชื่อ)
จำนวนทุนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) โดยให้ส่วนงานวิชาการของนักศึกษาผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สถาบันเป็นผู้เสนอชื่อต่อคณะกรรมการกองทุนการศึกษาเพื่อพิจารณา
ทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการ
- เป็นนักศึกษาของสถาบัน โดยมีสถานภาพเป็นนักศึกษาขณะยื่นขอรับทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการ
- ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษา หรือไม่เคยได้รับทุนการศึกษาแบบเต็มรูปแบบจากแหล่งทุนอื่น โดยทุนที่ได้รับนั้นมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการไว้แล้ว ยกเว้นได้รับทุนสนับสนุนเพียงบางส่วน
- หากส่วนงานวิชาการของนักศึกษาผู้ขอรับทุน มีการสนับสนุนทุนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้แล้ว นักศึกษามีสิทธิเบิกได้ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น
- ไม่เป็นผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาจากสถาบัน
หลักเกณฑ์การสนับสนุน
1. ลักษณะการเผยแพร่ผลงานที่จะได้รับทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการ ได้แก่
1.1 การเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ (Journals) ที่มีมาตรฐาน
1.2 การเสนอผลงานทางวิชาการ และนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ (Conferences) ในรูปแบบบทความวิจัย (Proceedings) ที่มีกรรมการวิชาการ (Academic Board) มาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ที่เป็นที่รู้จัก และยอมรับในวงการวิชาการ หรือวิชาชีพในสาขานั้นๆ
1.3 วารสารวิชาการ (Journals) ที่ประชุมวิชาการ (Conferences) หรือที่ประชุมทางวิชาชีพ (Professional Meetings) ที่นักศึกษาลงตีพิมพ์หรือเสนอผลงานทางวิชาการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องสามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้
2. ผลงานที่นักศึกษาขอรับทุนจะต้องเป็นผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่
3. ผลงานที่นักศึกษานำมาขอรับทุนจะต้องมีชื่อนักศึกษาเป็นเจ้าของผลงานร่วมกับชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
หลักเกณฑ์การจ่ายทุนสนับสนุน
1.นักศึกษาจะต้องแสดงหลักฐานการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการ โดยระบุชื่อนักศึกษาที่เป็นผู้ลงทะเบียนเท่านั้น จึงจะขอรับทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการได้
2. จำนวนครั้งที่นักศึกษามีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการมีดังนี้
2.1 ระดับปริญญาตรี คนละ 1 ครั้งตลอดหลักสูตรการศึกษา สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
2.2 ระดับปริญญาโท
กรณีที่ตีพิมพ์หรือเสนอผลงานทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้ นักศึกษามีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนคนละไม่เกิน 1 ครั้งต่อปี หรือ 2 ครั้งตลอดหลักสูตรการศึกษาสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
กรณีที่ตีพิมพ์หรือเสนอผลงานทางวิชาการที่ไม่สามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้ นักศึกษามีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนคนละไม่เกิน 1 ครั้งตลอดหลักสูตรการศึกษาสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
2.3 ระดับปริญญาเอก
กรณีที่ตีพิมพ์หรือเสนอผลงานทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้ นักศึกษามีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนคนละไม่เกิน 1 ครั้งต่อปี หรือ 3 ครั้งตลอดหลักสูตรการศึกษาสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
กรณีที่ตีพิมพ์หรือเสนอผลงานทางวิชาการที่ไม่สามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาได้ นักศึกษามีสิทธิ์ได้รับทุนสนับสนุนคนละไม่เกิน 1 ครั้งตลอดหลักสูตรการศึกษาสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และการประชุมทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
3. อัตราการจ่ายเงินทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการ
3.1 การเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ (Journals) ให้จ่ายในอัตราคนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ โดยมีใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือวารสารการวิจัยประกอบการเบิกจ่าย
3.2 การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ (Conferences) แบ่งได้ดังนี้
3.2.1 การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษาสำหรับการประชุมวิชาการในประเทศระดับชาติตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาท (สีพันห้าร้อยบาทถ้วน) และสำหรับการประชุมวิชาการในประเทศระดับนานาชาติตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 7,500 บาท (เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้
(ก) ค่าลงทะเบียนในการเข้าร่วมประชุมวิชาการของนักศึกษาตามอัตราการลงทะเบียนโดยมีหลักฐานการลงทะเบียนและเอกสารแสดงกำหนดการลงทะเบียน
(ข) ค่าเดินทางไปและกลับตามที่จ่ายจริงโดยมีหลักฐานค่าบัตรโดยสารและนักศึกษาจะต้องเป็นผู้รับรองการเดินทาง
(ค) ค่าที่พักตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินในอัตราคนละ 1,000 บาทต่อคืน (หนึ่งพันบาทถ้วน) โดยมีหลักฐานการเข้าพัก
3.2.2 การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานในต่างประเทศของนักศึกษาตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 12,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้
(ก) ค่าลงทะเบียนในการเข้าร่วมประชุมวิชาการตามอัตราการลงทะเบียนโดยมีหลักฐานการลงทะเบียนและเอกสารแสดงกำหนดการลงทะเบียน
(ข) ค่าเดินทางไปและกลับตามที่จ่ายจริงโดยมีหลักฐานค่าบัตรโดยสารและนักศึกษาจะต้องเป็นผู้รับรองการเดินทาง
(ค) ค่าที่พักตามที่จ่ายจริงโดยมีหลักฐานการเข้าพัก
3.3.3 นักศึกษาต้องดำเนินการยื่นขออนุมัติรับทุนสนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการต่อรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ โดยยืนก่อนวันส่งผลงานไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการอย่างน้อย 7 วันทำการหรือนับตั้งแต่วันที่สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ได้รับเรื่อง จนถึงวันแรกของการประชุมวิชาการ แล้วแต่กรณี
ยื่นก่อนไปอย่างน้อย 7 วันทำการ
1. แบบฟอร์มขอรับทุนเสนอผลงานวิชาการ (อาจารย์ที่ปรึกษาเซ็นเรียบร้อยแล้ว)
2. สำเนาบัตรนักศึกษา หรือหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
3. หลักฐานการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน
4. หลักฐานการตอบรับให้ไปเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและกำหนดการงาน
5. ชื่อวารสารและการประชุมวิชาการที่สภาวิชาการอนุมัติ
6. รูปถ่ายผลงานที่จะนำไปเผยแพร่
7. บทความวิชาการที่จะนำไปเผยแพร่
กลับจากงานเสนอผลงานไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ไป
1. ผลงานบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ ที่นำไปเผยแพร่มีเลขหน้า
2. รูปถ่ายผลงานที่ไปเผยแพร่
3. หลักฐานฉบับจริง การลงทะเบียนวิชาการ (ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเข้าร่วมเสนอผลงาน)
4. หลักฐานฉบับจริง การเดินทาง (ใบเสร็จรับเงินค่าโดยสาร + ตั๋วโดยสาร) รับรองการเดินทางเข้าร่วมงาน
5. หลักฐานฉบับจริง การเข้าพัก (ใบเสร็จรับเงินค่าที่พัก + รายละเอียดการเข้าพัก)
6. สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ในเขตกรุงเทพหรือปริมณฑล ได้ 3 ธนาคาร ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ไทยพาณิชย์
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าปรับปัจจุบัน มีการเคลื่อนไหวไม่เกิน 2 เดือน
หมายเหตุ เอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน ต้องมีรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อผู้ลงทะเบียน/ใบเสร็จรับเงิน ต้องเป็นชื่อนักศึกษาผู้ขอทุนเสนอผลงานวิชาการ
2. ใช้ที่อยู่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 หมู่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. 10520
กรณีนักศึกษาผู้ยื่นขอทุนเป็นนักศึกษาต่างชาติ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้ดูแลช่วยเหลือในด้านเอกสาร รวมถึงหลักฐานการเบิกจ่ายต่างๆ
DOWNLOAD แบบฟอร์มขอทุนเสนอผลงานวิชาการ
สมัครได้ตลอดปีการศึกษา
ทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนและฝึกงานต่างประเทศ
- เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 หรือกำลังศึกษษระดับบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษาที่หลักสูตรกำหนด
- ไม่เป็นผู้ทำผิดกฏหมายหรือเคยทำผิดวินัยนักศึกษา
หลักเกณฑ์การขอรับทุนสนับสนุน
1. การแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศ จะต้องดำเนินการร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศที่อยู่ใน 300 อันดับแรกของผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings หรือ THE World University Rankings ของปีการศึกษาที่ขอรับทุน หรือสถานประกอบการที่สถาบันมีนโยบายสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน หรือมีข้อตกลงความร่วมมือกันเป็นลายลักษณ์อักษร
2. นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานประกอบการในต่างประเทศให้ตอบรับเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนหรือนักศึกษาฝึกงาน
3. นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องนำหลักฐานการตอบรับทั้งจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าภาควิชา หรือผู้บริหารส่วนงานวิชาการและสถาบันอุดมศึกษา หรือสถานประกอบการในต่างประเทศ มายื่นต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อพิจารณาคัดเลือก
4. กรณีนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศแล้ว แต่ยังได้รับการสนับสนุนไม่เต็มจำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนงานวิชาการของนักศึกษาสามารถสนับสนุนทุนในลักษณะนี้ให้แก่นักศึกษาได้ แต่ต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
5. นักศึกษาผู้ขอรับทุนจะต้องทำหนังสือยินยอมรับทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศต่อสถาบัน ก่อนที่จะเดินทางไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศ ณ สำนักงานกิจการต่างประเทศสำนักงานอธิการบดีตามแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
6. ระยะเวลาการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 กรณี
6.1 กรณีเป็นสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานประกอบการต่างประเทศที่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบัน ให้มีระยะเวลาการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานดังนี้
(ก) การไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานที่มีระยะเวลาแลกเปลี่ยนน้อยกว่า 30 วัน
(ข) การไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานที่มีระยะเวลาการแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 30 วันขึ้นไป
6.2 กรณีเป็นสถาบันอุดมศึกษาหรือสถานประกอบการต่างประเทศที่ไม่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบัน ต้องมีระยะเวลาการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานอย่างน้อย 90 วันขึ้นไป
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสนับสนุน
ผู้รับทุนจะได้รับเงินสนับสนุนการไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ ดังนี้
1. กรณีเป็นผู้รับทุนที่มีระยะเวลาแลกเปลี่ยนหรือฝึกงาน ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 6.1 และไม่มีทุนอื่นสนับสนุน ให้ได้รับเงินทุนสนับสนุนแบบเหมาจ่าย 50,000 บาท
2. กรณีเป็นผู้รับทุนที่มีระยะเวลาแลกเปลี่ยนหรือฝึกงาน ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 6.1 หรือ 6.2 ให้ได้รับเงินทุนสนับสนุนแบบเหมาจ่ายตามโซนประเทศ ดังนี้
(ก) ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ได้รับเงินทุนสนับสนุน 60,000 บาท
(ข) ประเทศในยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้รับเงินทุนสนับสนุน 50,000 บาท
(ค) ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ได้รับเงินทุนสนับสนุน 40,000 บาท
(ง) ประเทศอื่นๆ นอกเหนือที่กำหนด ได้รับเงินทุนสนับสนุน 20,000 บาท
รายงานผลการไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานต่างประเทศ
1. นักศึกษาผู้รับทุน ต้องรายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ หรือฝึกงานกับสถาบันอุดมศึกษา หรือสถานประกอบการต่างประเทศต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันกลับมายังประเทศไทย
2. หากนักศึกษาผู้รับทุนไม่รายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อ 1 จะไม่ได้รับทุนสนับสนุนในครั้งถัดไป
- กรณีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานถูกยกเลิกโดยสถาบันอุดมศึกษา หรือสถานประกอบการต่างประเทศ
- กรณีที่นักศึกษาจำเป็นต้องยุติกิจกรรมการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานลง หรือเข้าร่วมแต่ไม่ครบกำหนดระยะเวลา และนักศึกษาต้องเดินทางกลับก่อนครบกำหนด 30 วันหรือ 90 วัน แล้วแต่กรณี
- กรณีที่สถาบันพบว่านักศึกษาไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานจริงตามที่ระบุไว้ตอนสมัครรับทุน
- กรณีที่นักศึกษากระทำความผิดในระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนหรือฝึกงาน อันเป็นเหตุให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษามีอำนาจเรียกตัวนักศึกษากลับและขอเรียกทุนสนับสนุนคืน
- กรณีตามข้อ 1 และข้อ 2 คณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาอาจพิจารณายกเว้นการชดใช้คืนเงินทุนได้
- หากนักศึกษาผู้รับทุน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแผนการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน หรือฝึกงาน เปลี่ยนสถาบันอุดมศึกษา หรือสถานประกอบการในต่างประเทศ จากที่เสนอไว้ตอนสมัครขอรับทุนนักศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาก่อน
- กรณีของนักศึกษาที่ฝึกงานในสถานประกอบการต่างประเทศ ให้ใช้เงินรายได้ของส่วนงานวิชาการของนักศึกษาผู้ขอทุนจ่ายเป็นเงินสนับสนุนตามประกาศนี้
- ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษามีอำนาจกำหนดจำนวนทุนในแต่ละปีการศึกษา รวมถึงสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาตัดสินการอนุมัติหรือไม่อนุมัติการให้ทุนถึงแม้ว่าผู้ขอรับทุนจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขในการขอรับทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษาก็ตาม
สมัครได้ตลอดปีการศึกษา