สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ Office Of Student Development and Alumni

ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร

กำหนดยื่นคำร้อง

เพื่อเข้าร่วม Line Open Chat
แตะ/คลิกที่นี่ เพื่อเข้าร่วม

การแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน (สด.9)

  • เป็นชายสัญชาติไทย
  • มีอายุครบ 17 ปี (ในปีที่แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน)
  • บุคคลซึ่งยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด และอายุยังไม่ถึง 46 ปี ยังคงต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
  • ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของผู้แจ้ง
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบิดา มารดา เป็นบุคคลต่างด้าว)
  • หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
  • ผู้แจ้งรายงานตัวเพื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่พร้อมเอกสารหลักฐาน
  • เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐาน
  •  

กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)

    • ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน

กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)

    • ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน

กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง

    • ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
    • ในกรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • หากมาขอลงบัญชีทหารกองเกินก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการฟ้องร้องและจับกุม บทลงโทษจะลดลงเหลือเพียงจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเป็นผู้ปรับเงิน
  • หากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 4 ปี
Scroll to Top